วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553

การพัฒนาสมองในชีวิตประจำวัน

เราใช้สมองตั้งแต่เริ่มตื่นนอน คิดและทำกิจวัตรประจำวัน สมองส่วนหน้า(Frontal lobe)มีขนาดใหญ่ที่สุดมีหน้าที่ควบคุมระบบกล้ามเนื้อสำหรับการเคลื่อนไหว เกี่ยวข้องกับการวางแผน การควบคุมให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ต้องการ อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม และต่อเนื่องกับส่วนอื่นๆของสมอง สมองส่วนนี้ปกติใช้งานเพียง20% มีความสามารถของสมองที่ซ่อนเร้นอีกกว่า80% การพัฒนาขีดความสามารถของสมองโดยดึงความสามารถที่เหลือหรือการใช้สมองอย่างเต็มที่เป็นจุดประสงค์ของการพํฒนาสมองที่แท้จริง ร่างกายมนุษย์เปรียบเสมือนจักรกลชีวภาพ เราเติมพลังงานจากสารอาหารที่กินเข้าไปเปลี่ยสสารเป็นพลังงาน กระแสไฟฟ้า ที่สมองมีคลื่นไฟฟ้าที่วัดได้ การทำงานของสมองเชื่อมโยงสั่งการด้วยสารเคมี และกระแสไฟฟ้า ขนาดต่ำ การพัฒนาสมองให้ทำงานเต็มที่โดยใช้พลังงานต่ำ เช่น การทำสมาธิ หยุดการคิดที่สิ้นเปลืองพลังงานในเรื่องต่างๆที่ก่อให้เกิดความฟุ้งซ่าน ควบคุมให้คิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนสำเร็จเป็นตัวอย่างเทคนิคการพัฒนาสมอง การประกอบกิจวัตรประจำวันจึงสามารใช้เป็นแนวทางในการฝึกสมองขั้นพื้นฐานเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐาน อันนำไปสู่การพัฒนาขั้นสูง
เมื่อวิเคราะห์การทำงานของสมอง จากการรับรู้ข้อมูลจากภายนอกและภายในร่างกาย นำไปสุ่การคิด และแปลงสัญญาณประสาท เป็นคำสั่งควบคุมการเคลื่อนไหวผ่านกล้ามเนื้อ เช่น เมื่อรู้สึกหิว ปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำสมองก็จะคิดว่าอาหารอยู่ที่ใดจะไปหาอาหารจากที่ไหน และ ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ออกหาอาหาร พัฒนาจากการล่าสัตว์เกิดระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา เกิดอาชีพ เพื่อหาอาหาร จากการตอบสนองขั้นพื้นฐาน นำไปสู่กระบวนการคิดที่ซับซ้อนขึ้น เกิดระบบแลกเปลี่ยนเงิน จึงเห็นได้ว่าสมองมนุษย์มีการพัฒนาจากกิจวัตรประจำวันเกิดระบบเศรษฐกิจ เพื่อหาอาหารและปัจจัยเพื่อการอยู่รอด
การทำกิจวัตรประจำวัน เริ่มจากการรับรู้ การกำหนดเป้าหมาย ลำดับขั้น การวางแผน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทั้งนี้อาจมีการวางแผนการเคลื่อนไหวหลายแบบ และต้องรู้จักเลือกแผนที่ดีที่สุดที่ตอบสนองตรงตามความต้องการหรือวัตถุประสงค์หรือมองภาพด้วยใจจินตนาการถึงการกระทำและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นการฝึกการสร้างมโนภาพ และทำให้เกิดขึ้นจริง เมื่อฝึกฝนบ่อยๆก็จะพัฒนาขีดความสามารถมองเห็นการณ์ที่จะเป็นไปในอนาคตและผลลัพธ์ต่างๆที่เกิดจากการกระทำในปัจจุบัน บางครั้งมีนักคิดเรียกวิธีการนี้ว่าเป็นการฝึกฝนพลังจิต ซึ่งคือการฝึกสมองให้ใช้งานเต็มที่อย่างมีประสิทธิภาพ บางครั้งคลื่นสมองเปรียบเสมือนคลื่นพลังงานสามารถควบคุมวัตถุภายนอกเช่น งอช้อน เคลื่อนไหววัตถุที่อยู่ห่างออกไป หรือควบคุมคลื่นความคิดผู้อื่นที่เรียกว่าสะกดจิต และสามารถพิสูจน์ได้โดยวิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาวิจัยทั้งโครงการลับของประเทศมหาอำนาจต่างๆ ในที่นี้มุ่งเน้นการฝึกสมองในทางสร้างสรรค์ และใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนการพัฒนาสมองขั้นสูงดังกล่าวจะบรรยายต่อไป

วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553

การพัฒนาสมองด้วยการสร้างความรู้ จุดเริ่มต้นการเรียนรู้

การพัฒนาสมอง เริ่มจากในครรภ์ มีงานวิจัยที่ศึกษามากมายยืนยันถึงพัฒนาการตั้งแต่ในครรภ์ การกระตุ้นระบบประสาทรับรู้ การเรียนรู้ การตอบสนอง เมื่อเด็กคลอดออกมาสิ่งแรกที่จำเป็นต้องทำคือการเรียนรู้ที่จะหายใจ ร้องเพื่อความอยู่รอด เล่ามาเพื่อแสดงให้เห็นภาพกระบวนการพัฒนาสมองขั้นพื้นฐาน การเรียนรู้ที่จะอยู่รอดด้วยระบบประสาทอัตโนมัติ และการพัฒนาสมองส่วนต่างๆ เพื่อการทำกิจกรรม การหาอาหารกิน นอน ขับถ่าย เป็นกลไกที่ซับซ้อนและเรียนรู้แบบซ้ำๆ จนสามรถเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อต่างๆได้อย่างคล่องแคล่ว ต่อมาสมองต้องพัฒนาเพื่อคิด ต่อการทำกิจกรรมต่างๆ เด็กเล็กไม่สามารถหาอาหารได้ต้องสื่อสารกับแม่ด้วยภาษาพื้นฐาน การร้องไห้ ภาษากาย เพื่อให้แม่มาป้อนนม เด็กเล็กจึงเริ่มเรียนรู้การสื่อสาร และ ภาษาเพื่อใช้ติดต่อกับแม่ และพัฒนาขั้นสูงเป็นการเรียนรู้เรื่องภาษาซึ่งพํฒนาในส่วนของสมองซีกซ้ายข้างที่เด่น(Dominant hemisphere:Language area)ภาษาเป็นกระบวนการขั้นสูงสำหรับมนุษย์ สัตว์ต่างๆอาจใช้เสียงร้องสื่อสาร แต่มนุษย์รู้จักใช้สัญญลักษณ์ ใช้กล้ามเนื้อในการเปล่งเสียงเป็นคำ ประโยคอย่างเป็นระบบ แสดงให้เห็นว่าสมองมนุษย์มีการพัฒนาเหนือกว่าสัตว์ต่างๆ เมื่อเติบโตขึ้น สมองมีการเรียนรู้โดย รับรู้ คิด ตอบสนองเป็นกระบวนการที่เกิดซ้ำวนหลายรอบ แต่เปลี่ยนเรื่องที่คิด มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ สร้างสรรค์ วัสดุอุปกรณ์เครื่องทุ่นแรง ในการหาอาหาร การต่อสู้การป้องกันตัวคิดค้นอาวุธ และเริ่มการสร้างความรู้ที่ค้นพบและถ่ายทอดสืบต่อกันมา การสร้างความรู้เป็นกระบวนการพัฒนาสมองที่ไม่มีวันจบสิ้น จึงเห็นได้ว่า การพัฒนาสมองเริ่มจากพื้นฐานการอยู่รอด และขั้นสูงเพื่อการสร้างความรู้ ทั้งนี้เพื่ออยู่อย่างมีความสุข ความสุขเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์รู้จักคิดมากขึ้น สร้างสิ่งต่างๆเพื่อตอบสนองให้เกิดความพึงพอใจ กำเนิดเป็นความรู้ ศาสตร์สาขาต่างๆ วิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์และศาสตร์อื่นๆอีกนับไม่ถ้วน เนื่องจากสมองคิดมากขึ้นและมีสิ่งที่ไม่รู้มาก สมองจึงหาทางคิดเพื่อให้รู้ในสิ่งที่ไม่รู้ เป็นการเรียนรู้ มีการสร้างระบบการเรียนแบต่างๆ เกิดการก่อตั้งโรงเรียน เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องราวธรรมชาติที่ยังไม่รู้ ให้รู้จริงด้วยกระบวนการที่สร้างขึ้นการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ พิสูจน์ว่าเป็นความจริง มีการคิดด้วยสัญลักษณ์ตัวเลขและสมการคณิตศาสตร์ซึ่งมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นหลังการพัฒนามาตามลำดับจากยุคโบราณสู่ยุคปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การพัฒนาสมองสามารถกระทำได้โดยไม่ยุ่งยากในยุคปัจจุบันเนื่องจากมีเครื่องมือสื่อสารเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการพัฒนาการเรียนรู้ผ่านสื่อต่างๆง่ายและสะดวกมากมาย เช่น โทรทัศน์ วิทยุ และคอมพิวเตอร์ เครื่องมือที่เลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ การป้อนข้อมูล การคิด การตอบสนอง มีการสร้างโครงข่ายติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นอินเตอร์เนต มีการสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัยเสมือนจริงบนอินเตอร์เนต ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเดินทางไกล ก็สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา การพัฒนาสมองจึงง่ายมากในยุคปัจจุบัน การสร้างความรู้จากข้อมูลที่หลากหลายหาได้มากมายในปัจจุบันเป็นทางลัดในการพัฒนาสมองอย่างรวดเร็ว ช่วยให้รู้ได้เร็ว ทั้งนี้การรู้จักคิดสามารถกระทำได้เพื่อสร้างความฉลาดซึ่งจะบรรยายต่อไป สรุป การพัฒนาสมองเริ่มจากการเรียนเพื่อให้รู้และอยู่รอด

วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

วิเคราะห์วิธีการพัฒนาสมอง

การพัฒนาสมอง หรือการสร้างรูปแบบการเรียนรู้ มีการแยกวิธีการเรียนตามหลักการคิดวิเคราะห์เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้โดยแยกตามวัย แบ่งชั้นเรียนตามอายุ อนุบาล ประถม มัธยม มหาวิทยาลัย และแยกวิชาการเรียนออกเป็นหลายสาขาวิชา เพื่อจัดระบบ และง่ายต่อการเรียนรู้ เป็นการสอนคนให้เลือกวิชาการที่ตนถนัด ซึ่งเป็นการเรียนรูปแบบเก่า ทั้งนี้สมองสามารถพัฒนาอย่างไร้ขีดจำกัด การเรียนรู้แบบเก่าเป็นเหมือนสอนคนให้ขึ้นบันไดไปทีละขั้น ซึ่งการพัฒนาสมองสามารถทำได้ทันทีไม่ต้องใช้เวลานานอย่างกระบวนการเรียนรู้แบบเก่าซึ่งมนุษย์ปัจจุบันคิดว่าดี การเรียนรู้แบบสังเคราะห์เป็นการสร้างความรู้โดยพัฒนาต่อเนื่องจากการเรียนแบบวิเคราะห์แยกวิชาการ ซึ่งทำให้คนฉลาดขึ้นกว่าระบบเก่า
การเรียนรู้ในปัจจุบันต่างจากอดีต เนื่องจากองค์ความรู้ที่พัฒนามีมากมายมหาศาล และไม่จำกัดเฉพาะสถานที่ อายุ เวลา แนวคิดการเรียนอย่างอิสระสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็วด้วยความเจริญทางเทคโนโลยี ซึ่งการสร้างความฉลาดง่ายกว่าในอดีต
การพัฒนาสมองจึงเริมได้ทุกที่ทุกเวลา เสมือนการปฏิวัติทางความคิด โดยคิดอย่างอิสระ บนความเป็นจริง สร้างสรรค์และไม่ก่อให้เกิดโทษหรือเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ
โลกในยุคที่3(The third wave intelligent&technology power)เป็นโลกที่มีความเจริญทางวัตถุอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงโลก(Rule of the world:The third wave)มีความซับซ้อนมากขึ้น นอกจากการใช้กำลัง(ยุคแรก โบราณ :Weapon power)และการใช้เศรษฐกิจ การค้า(ยุคที่2 :Economic power)มีผู้สร้างทฤษฏีและแนวคิดหลากหลายรูปแบบโดยเฉพาะระบบการปกครอง มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองจากระบบขุนนางกษัตริย์ซึ่งมีผลกระทบทั้งโลก(intelligent wave) เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยหรือความเท่าเทียมกันและความเป็นอิสระปราศจากการกดขี่จากระบอบกษัตริย์หรือระบบขุนนาง เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ไม่ว่าจะยุคใดการเปลี่ยนแปลงโลกมักต้องใช้กำลังเหมือนยุคโบราณ เมื่อปฏิวัติโค่นระบบการปกครองเดิมสำเร็จก็เกิดการสร้างโลกยุคใหม่ ควบคุมด้วยระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ตามมาด้วยผู้ที่คิดระบบการปกครองเพื่อความเป็นอิสระและช่วยเหลือชนชั้นล่างที่ถูกกดขี่เกิดระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยภายใต้กระบอกปืน(คอมมิวนิสต์) การปฏิวัติที่รัสเซีย จีน เวียดนาม เกาหลีและอีกหลายประเทศ โลกแบ่งออกเป็น2ฝ่าย เข้าสู่ยุคสงครามเย็น จึงเห็นได้ว่า ผู้ที่เปลี่ยนแปลงโลก คือผู้ที่รู้จักคิด ปฏิวัติทางความคิด(Revolution of thinking)อันนำไปสู่การปฏิบัติ และมีผลกระทบทั้งโลก ยุคสงครามเย็นระหว่างรัสเซียและสหรัฐ จบลงที่ผู้นำรัสเซียถูกครอบงำทางความคิดหรืออาจจะเปลี่ยนแปลงทางความคิดให้เป็นอิสระจากการใช้แต่กำลังหรืออาวุธที่มีประสิทธิภาพสูง(Weapon &intelligent) มาสู่ระบบทุนนิยม(Economic wave)การเปลี่ยนแปลงที่เร็วเกินไปของรัสเซียทำให้ประเทศล่มสลายแตกออกเป็นหลายประเทศซึ่งเป็นความพ่ายแพ้ทางความคิดของรัสเซียต่ออเมริกา ดังนั้นผู้นำประเทศต้องมีแนวความคิดที่ดีและเห็นเหตุการณ์ที่จะเป็นไปในอนาคตหรือรู้ผลลัพธ์ของสิ่งที่ทำ ไม่ว่าประเทศใดจะพ่ายแพ้หรือชนะ เรื่องที่เล่ามาดังกล่าวแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงโลกโดยการคิดที่แตกต่างจากอดีต แนวคิดความเป็นอิสระ ความเท่าเทียมกันของมนุษย์บนโลกใบเดียวกัน แตกต่างที่วิธีการและความฉลาด
การที่ผู้ที่รู้ว่าตนโง่แล้วเริ่มหาวิธีทำให้ตนฉลาดขึ้นเป็นคนฉลาดและเริ่มการเรียนรู้ขึ้น วิธีการเรียนรู้อาจจำแนกได้หลายแบบ โดยสรุปเป็นการคิดแนววิเคราะห์ ซึ่งทำให้คนฉลาดแต่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือถูกจำกัดความคิดให้คิดในรูปแบบเดิม การจะฉลาดรอบรู้ต้องรู้จักคิดออกจากรูปแบบเก่า สร้างกระบวนการคิดหรือวิธีคิดที่เป็นอิสระ ยกตัวอย่างเช่น คนส่วนมากถูกสอนให้จำว่าไอน์ไสตน์เป็นอัจฉริยะ ซึ่งสร้างสมการหรือสูตรประหลาด ที่ไม่มีใครคิด และไม่รู้ว่าจริงหรือไม่แต่ก็โง่เชื่อตามกันไปทั้งที่จริงๆแล้วเราอาจฉลาดกว่าไอน์ไสตน์ สูตรหรือสมการไม่ใช่สิ่งที่แสดงความฉลาด เพียงแต่คิดอะไรบางอย่างที่คนอื่นไม่คิดกัน สมการที่ถูกต้องอาจไม่ใช่สิ่งที่เขาคิด และการนำสมการไปใช้สร้างอาวุธที่ทำลายล้างสูงยิ่งแสดงความโง่อย่างบ้าคลั่ง หลังระเบิดปรมณู ไอน์ไสตน์ก็ตายจากโลกไป ผู้ที่ช่างคิดอาจสงสัยว่าถ้างั้นใครที่ฉลาดที่สุดในโลก คำตอบอาจจะเป็นตัวเองก็ได้ถ้ารู้จักคิด
ถ้าเรายังอยู่ในระบบการเรียนแบบเดิมก็ยังคงโง่ต่อไปเพราะจะรู้อยู่ด้านเดียว แต่ถ้าเรารู้จักคิดจะเกิดสมการหรือรูปแบบที่น่าสนใจกว่าและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโลกที่ดีขึ้น โลกแห่งความฉลาด บนพื้นฐานแนวคิดแบบสังเคราะห์การสร้างความรู้ ยกตัวอย่างศาสดาในศาสนาต่างๆที่สร้างคำสอนเปลี่ยนแปลงโลก ช่วยคนให้พ้นจากความทุกข์ และความโง่(The third wave intelligent) เดิมที่เรียนจากสำนักต่างๆแต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีคิดแบบเดิม ต่อเมื่อสงบจิตใจ หยุดคิดแบบเดิม เลิกคิดวิเคราะห์ มาพิจารณาความจริงจนเกิดความฉลาดรอบรู้ เรียนมานานโง่อยู่นาน มาฉลาดเพียงชั่วข้ามคืน เหมือนออกจากโลกใบเดิม คิดวิธีการพ้นจากความโง่และความทุกข์สำเร็จ และนำแนวคิดมาถ่ายทอดเป็นคำสอนกำเนิดศาสนาแห่งความรู้(พุทธศาสนา) ความเป็นอัจฉริยะหรือฉลาดอย่างมากอาจเกิดขึ้นทันที่ทันใดดังเช่นศาสดาในพุทธศาสนา ที่ใช้เวลาเพียงข้ามคืนคิดสิ่งที่สำคัญและเป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับมนุษยชาติ ความฉลาด ดังนั้นการสร้างอัจฉริยะจึงเกิดขึ้นได้จริงไม่จำกัดเพศ อายุ ชนชั้น วรรณะ สถานที่หรือเวลา เมื่อใดที่คิดได้ เมื่อนั้นก็ฉลาด

วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553

วิธีการพัฒนาสมอง

การพัฒนาสมอง เริ่มต้นได้ทันที เนื่องจากทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ตื่นนอนควบคุมโดยสมอง การเข้าใจกลไกการใช้สมองหรือ การเข้าใจวิธีการคิดเป็นหัวใจสำคัญ การดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตทัั้งหลายเป็นการทำงานขั้นพื้นฐาน(Basic instinct) กิน นอน ขับถ่าย สืบพันธุ์ ต่อสู้ หลบหนี อารมณ์พื้นฐาน การเคลื่อนไหว ส่วนการทำงานขั้นสูง ที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่นคือการคิด การเรียนรู้ การเข้าใจวิธีการคิดหรือเข้าใจวัตถุประสงค์พัฒนาสมองเพื่อความฉลาด
เข้าใจความฉลาด ความสามารถในการใช้สมองคิด เลือกเฟ้นสิ่งที่ดีแก่ตน เช่น เลือกคำตอบที่ถูกจากการสอบ ทำให้สอบได้คะแนนสูง สามารถแก้ปัญหาได้ คนแต่ละคนจึงแตกต่างกันที่ระดับสติปัญญา หรือความฉลาด
อัจฉริยะ ความฉลาดอย่างมาก เกิดได้จาก พันธุกรรม ที่มีมาแต่กำเนิด ฉลาดแต่กำเนิด ในที่นี้ เน้นการสร้างอัจฉริยะจากการฝึกพัฒนาสมอง ให้รู้จักวิธีการคิด การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถคิดดี คิดถูกต้องและคิดได้อย่างรวดเร็ว
กระบวนการคิด เริ่มตั้งแต่วัตถุประสงค์ วิธีการ การตอบสนอง แล้วย้อนกลับมาที่เริ่มคิด มีนักคิดหลายท่านทำการศึกษาค้นคว้า วึ่งอาจสรุปเป็นกระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ การค้นหาความจริงจากสิ่งที่พิสูจน์ได้ตามหลักการวิทยาศาสตร์ การคิดเชิงจินตนาการ การสร้างรูปแบบต่างๆเชิงศิลปะใช้อารมณ์และจินตนาการ
การคิดแบบวิเคราะห์(การคิดแบบแยกส่วน,ขยายความ),การคิดแบบสังเคราะห์(การคิดแบบสรุปข้อมูล,สรุปใจความสำคัญ)เป็นสิ่งสำคัญของการเกิดวิชาการต่างๆจาการสร้างความรู้และศึกษาถ่ายทอดต่อมาซึ่งมีการสร้างความรู้อย่างต่อเนื่อง การใช้สมองนั้นเป็นการคิดทั้ง2แบบรวมกัน เริ่มจากการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลเป็นความรู้ การตอบสนองโดยการนำความรู้มาใช้ ซึ่งความฉลาดจะเกิดขึ้นได้จาก ประสบการณ์การเรียนรู้ สะสม จนรู้จักสังเคราะห์ความรู้เป็นของตนเอง หรือรู้จักคิด
ลองเริ่มต้นสร้างความฉลาดโดยการวิเคราะห์กระบวนการใช้สมองเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
1.ความมุ่งหมาย(Aim) กำหนดจุดมุ่งหมายในชีวิตหรือกิจกรรมที่จะทำ,จะประกอบอาชีพอะไร,อะไรเป็นอุปสรรค,หนทางแก้ไข,จุดมุ่งหมายสูงสุดคืออะไร,ควรมีความรู้ในอาชีพและความรู้รอบตัว

2.สติสัมปัชัญญะ(Perception)

ความรู้สึกตัวเป็นสิ่งสำคัญมาก มีสติที่จะรู้จักและควบคุมความคิด ให้พยายามที่จะดูอย่าเพียงแต่จะเห็น ให้พยายามที่จะฟังอย่าเพียงแต่ได้ยิน

3.ความสังเกต(Observation)

ดูสิ่งต่างๆอย่างถี่ถ้วนทำความสังเกตให้ถูกต้อง สามารถแยกแยะความเหมือนหรือความแตกต่าง

4.สมาธิ(Concentration)

การตั้งใจมั่นอยู่ในสิ่งเดียวที่เราทำ ให้มีสมาธิก่อนทำการใดๆ ควรรู้ว่าจะคิดเรื่องอะไร คิดดีหรือไม่ คิดถูกต้องหรือไม่ สิ่งที่จะทำควรทำหรือไม่ เมื่อทำแล้วผลลัพธ์จะเป็นเช่นใด

5.มโนคติ(Imagination)

การเห็นรูปด้วยใจ การมองเห็นการที่จะเป็นไปในภายหน้า การฝึกในทำนองฝึกจินตนาการฝันกลางวันเห็นภาพหรือเรื่องราว เช่นเดียวกับนักเขียนแต่งบทละคร มโนคติย่อมปกครองโลก

6.ความจำ(Memory)

ฝึกความจำโดยทำใจให้เป็นสมาธิ,มีความละเอียดสังเกตต่อเนื่อง,การเทียบเคียง,ทำเครื่องหมาย,ฝึกจำตัวเลขตอนเช้า ถ้าจำไม่ได้อาจใช้ความวิธีการเรียนซ้ำๆ เช่นเขียนข้อความที่ต้องการจำติดผนังอ่านซ้ำทุกวันจนกว่าจะจำได้

7.ความคิดปลอดโปร่ง(Clear thinking)

ไม่ปล่อยให้มีความสงสัย,มีความละเอียดแยกเรื่องออกเป็นส่วน,ใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย,ทำสิ่งที่ยากให้ง่าย การมีสมองปลอดโปร่งปราศจากสิ่งรบกวนทำให้คิดเห็นได้อย่างชัดเจน

8.การคิดหาเหตุผลให้ถูกทาง(Right reasoning)

แสวงหาความจริงและเหตุผล

9.ความวินิจฉัยถูกต้อง(Good judgement)

เมื่อความจริงยังไม่เด่นชัด,และยังหาเหตุผลไม่ได้เพียงพอ ใช้ความวินิจฉัยที่ถูกต้อง ไม่ลังเล ตัดสิน หากวินิจฉัยผิดพลาด เมื่อได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นก็วินิจฉัยใหม่ให้ถูกต้องและจดจำไว้เป็นบทเรียนเพื่อไม่ให้ผิดซ้ำ (เรียนรู้จากข้อผิดพลาดเพื่อไม่วินิจฉัยผิด)

10.ไหวพริบ(Intuition)

ทราบได้โดยมิต้องไตร่ตรอง,สังเกตเห็นโดยไม่ต้องมีใครเตือน,ปฏิบัติการได้ทันท่วงที ฝึกหัดเทียบเคียง,คิดให้ลึกซึ้ง,จำสุภาษิต เป็นการคิดได้อย่างรวดเร็ว

11.การโต้เถียง(Argument)

เอาชนะโดยใช้เหตุผล,แยกข้อโต้เถียงออกเป็นข้อ,ไม่ควรโต้เถียง เมื่อมีโทสะ,เรื่องไม่เป็นแก่นสาร,เรื่องที่ตกลงกันไม่ได้,คนไม่มีความคิด

12.ความฉลาด(Intelligent)

รู้เห็นตามที่เป็นจริง,รู้จักเลือกเฟ้น,เป้าหมายของการฝึกมาทั้งหมด ฝึกแสดงความคิดเห็นของตนเอง,แสวงหาประโยชน์จากทุกสิ่งที่เห็น,มีอิสระทางความคิด,หัดเปรียบเทียบ

13.การแนะนำตนเอง(Auto-suggestion)

รู้จักตนเอง มีตนเป็นที่พึ่ง เช่น เรามีความจำดี,ทำใจเป็นสมาธิ,พูดออกมาและคิดสม่ำเสมอ

14.การชนะตนเอง(Self-control)
ที่ฝึกมาทุกข้อเพื่อการรู้จักฝืนใจตัวไม่ทำสิ่งที่ผิด ทำในสิ่งที่ถูก การชนะใจตนเองเป็นความชนะที่ดีที่สุด และแสดงถึงความฉลาดที่เกิดขึ้นในการควบคุมความคิดและการแสดงออกด้วยการพูดและการกระทำ

ที่เขียนมาอ่านแล้วอาจรู้สึกว่ายาก จะทำให้ง่ายก็โดยการฝึกสมองหัดสร้างความคิดให้เกิดแก่ตน เป็นการสรุปใจความสำคัญที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งต้องใช้ทุกหัวข้อที่วิเคราะห์แยกส่วนให้เข้าใจกระบวนการคิดรวมเข้าด้วยกัน ผู้ใดเข้าใจและนำไปใช้ได้ย่อมเกิดการพัฒนาทักษะการคิดอันนำไปสู่ความฉลาด สร้างความสุขแก่ตนโดยไม่ทำร้ายผู้อื่น

การเรียนรู้สู่ความเป็นอัจฉริยะนั้น ไม่เป็นการกำหนดขอบเขต หรือการกดขี่ทางความคิด ความฉลาดไม่สามารถกำหนดโดยตัวเลขหรือเครื่องมือวัดถุที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากความฉลาดไม่มีขอบเขต การเป็นอิสระที่จะคิดในเรื่องที่ควรคิดเป็นหนทางสู่ความเป็นอัจฉริยะซึ่งอาจคิดไม่เหมือนผู้อื่น หรือคิดในสิ่งที่คนทั่วไปคิดไม่ถึง ทีสำคัญคือการกำเนิดองค์ความรู้ใหม่ซึ่งเกิดศาสตร์สาขาต่างๆขึ้นมากมายรวมทั้งวิทยาศาสตร์ จากนักคิด อัจฉริยะยุคต่างๆจนถึงปัจจุบันและการประดิษฐ์คิดค้นสร้างสรรค์สิ่งต่างๆมากมาย ดังนั้นมนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาตนเองสู่ความเป็นอัจฉริยะในด้านต่างๆที่ตนสนใจ

ยกตัวอย่างเช่น ศาสดาของศาสนาต่างๆ ที่คิดหาหนทางพ้นทุกข์ หาทางเพื่อความสุขสงบ โดยไม่ได้ไปศึกษาค้นคว้าที่สถาบันใดๆมาก่อนแต่ให้กำเนิดศาสนาซึ่งไม่มีผู้ใดเคยคิดมาก่อน จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องวัดไอคิวของอัจฉริยะเหล่านั้นที่ฉลาดกว่ามนุษย์ปัจจุบันซึ่งกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ไม่อาจกำหนดได้
นักวิทยาศาสตร์บางครั้งก็คิดเรื่องต่างๆสำเร็จได้ในเวลาที่ไม่ได้คิด

พัฒนาสมองสู่ความเป็นเลิศ อิสระทางความคิดที่ไร้ขอบเขต ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง คนทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันที่มีสมองมีความคิด การอบรมเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมองเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่อยากจะเป็นอัจฉริยะ และอัจฉริยะสร้างได้ทันที ที่รู้จักคิด

วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2553

แนะนำการพัฒนาสมอง

สมองสามารถพัฒนาได้อย่างไร้ขีดจำกัด เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา ตราบเท่าที่ยังมีชีวิตสามารถเพิ่มประสิทธภาพสมองได้ วิชาการเพาะปลูกมันสมองมีมานานจากยุคโบราณ จนเข้าสู่ยุคปัจจุบัน ซึ่งการเรียนรู้มีความซับซ้อนมากขึ้น จากเดิมมีการสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย พัฒนาจนเกิดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเลกโทรนิกส์ (E-learning)โลกพัฒนามาเป็นลำดับ จากยุคโบราณที่ใช้กำลัง สงคราม การใช้สมองกับการใช้กำลังทหารมีคัมภีร์พิชัยสงครามเกิดขึ้นมากมาย(first wave:weapon power),ยุคกลาง การใช้ระบบการเงิน กับการใช้สมองสร้างความร่ำรวย นำไปสู่สงครามเศรษฐกิจ(Second wave:economic power)มีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจขึ้น(ทุนนิยม) ,มาสู่โลกยุคปัจจุบัน สังคมข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี สงครามทางความคิด ความเชื่อ(Third wave:intelligent&technology power) ซึ่งไม่ว่ายุคใดสิ่งที่ทำให้มนุษย์เหนือกว่าสัตว์บนพื้นโลกนี้ คือ สมอง ดังนั้นประเทศใดจะเจริญก้าวหน้ากว่ากันอาจดูได้จากประชากรมีคุณภาพสมองดีเพียงใด ซึ่งโลกในอนาคตจะเข้าสู่ยุคแห่งสติปัญญา (the fourth wave:wisdom power) ผู้ชนะที่แท้จริงจะเป็นผู้มีสติปัญญา ความฉลาดในทุกด้าน ดังนั้นการพัฒนาสมองเป็นการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยเพิ่มประชากรที่มีสมองดี คิดดี คิดถูกต้อง คิดอย่างรวดเร็ว แก้ไขเหตุที่ทำให้สมองใช้งานไม่เต็มที่ นำไปสู่การใช้สมองอย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้ศึกษาวิชานี้ไม่ต้องการประกาศนียบัตรรับรอง ผลที่ได้คือความฉลาด รู้จักเลือกเฟ้นสิ่งที่ดีมีประโยชน์แก่ตน วึ่งเมื่อเริ่มอ่านข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองแก่ตนเองก็เริ่มต้นความฉลาด
การทำงานของสมองประกอบด้วย1.)การรับรู้ผ่านระบบประสาท 2.)การคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ข้อมูล และ3.)ขั้นตอนสุดท้ายการตอบสนองด้วยการคิด การพูดหรือการกระทำ ผู้มีสมองดีจะรับรู้ คิด และตอบสนองได้ดี
การเรียนรู้จะดี การทำงานจะดี การใช้ชีวิตดี สุดท้ายมีความสุข
ประโยชน์ที่เห็นโดยตรงจากการวิจัยคือผู้เรียนมีผลการเรียนดีขึ้นกว่ากลุ่มที่เรียนรู้แบบเดิม(ฉลาดกว่าเดิม)
ผู้ที่สนใจจะพัฒนาสมองตนเองสามารถเริ่มต้นได้ทันที และควรฝึกสมองเป็นประจำทุกวันจนกว่าจะสิ้นชีวิต ควรตั้งใจ ไม่หักโหม ไม่ใช้สมองขณะอ่อนล้า พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่เสพสิ่งที่เป็นโทษแก่สมอง ทำอารมณ์ให้เบิกบานไม่ขุ่นมัว
เหตุที่ทำให้สมองไม่ดี จาก กรรมพันธุ์(สมองพิการ ปัญญาอ่อน) ขาดการอบรม ดังนั้นสมองที่ไม่พิการสามารถพัฒนาได้ รายละเอียดอยู่ในเวบebrain1.com ซึ่งจะนำมาบรรยายต่อไป
การสร้างเวบเพื่อสร้างความฉลาด ไม่มุ่งแสวงผลประโยชน์ เป็นไปเพื่อพัฒนาประชากรสำหรับยุคอนาคต(The wisdom world)